วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

หญ้าคาสุดยอดวัชพืชไม่ไร้ค่า

สวัสดีเพื่อนๆ  สมุนไพรไกลโรค  ช่วงนี้ฝนตกค่อนข้างบ่อย ถึงแม้จะไปไหนมาไหนลำบาก แต่ก็มีข้อดีคือช่วยลดอุณภูมิภายนอกให้เย็นสดชื่นได้ พืชพันธ์ต่างๆ ก็พากันเขียวชอุ่ม โดยเฉพาะพวกวัชพืชต่างๆก็ได้อานิสงค์ไปกับเขาfด้วยเช่นพวกหญ้าคา  ซึ่งทำให้อาจต้องเปลืองแรงถอนกันอีก แต่หลายๆท่านเองอาจคิดว่าหญ้าคา เป็นเพียงวัชพื้ชที่ไร้คุณค่า  โดยมีคนเคยให้ข้อมูลว่า หญ้าคาติดอันดับ1 ใน 10 ของวัชพืชที่แย่ที่สุดของโลกเลยทีเดียว  อะไรจะขนาดนั้น     แต่ความเป็นจริงแล้ว หญ้าคานั้นถือเป็นสมุนไพรไทย ที่ทรงคุณค่ามากมายทีเดียว  มารู้จักหญ้าคากันค่ะ
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าคา      Imperata cylindrica (L.) P.Beauv
  • ชื่อวงศ์                                        Poaceae หรือ Gramineae
  • ชืออื่นๆตามภูมิภาค                     คาหลวง , คา (ภาคกลาง) ลาแล , ลาลาง มลายู และ เก้อฮี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
หญ้าคา
ลักษณะทางพฤกษาศาสตร์ของหญ้าคา
มีเหง้าสีขาวแข็งอยู่ใต้ดิน ลำต้นตั้งตรงสูงถึง15 – 20 เซนติเมตร มีกาบใบโอบหุ้มอยู่และริมกาบใบจะมีขน ตัวใบจะเรียวยาวประมาณ 1 – 2 เมตร กว้างประมาณ 4 – 18 มิลลิเมตร มีขนเป็นกระจุกอยู่ระหว่างรอยต่อของตัวใบและกาบใบ ดอกมีสีขาวอมเหลือง หรือเป็นสีม่วง เป็นช่อยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
ประโยชน์ด้านสมุนไพรของหญ้าคาจากการศึกษาทางวิสยาศาสตร์
เนื่องจากหญ้าคามีสารสำคัญอยู่หลายประการโดยเฉพาะในราก มีสารประกอบฟินอลิก (phenolic compounds),โครโมน (chrmones), ไตรเตอร์ปินอยด์ (triterpenoid), เซสควิทเตอร์ปินอยด์ (sesquiterpenoids), โพลีแซคคาไรด์โดยสารเหล่านี้มีคุณสมบัติสำคัญดังนี้
  1. ต้านอักเสบ  สารประกอบฟินอลิกที่มีชื่อว่า ไซลินดอลเอ (cylindol A) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งเอนไซม์ไลพอกซีจีเนส                        (5-lipoxygenase) ซึ่งจะลดการสลายกรดไขมันอะแรกชิโดนิก (arachidonic acid) ที่จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารก่ออักเสบ
  2. ต้านเลือดเหนียว  สารประกอบฟินอลิกที่มืชื่อว่า อิมพีรานีน (imperanene) ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด
  3. ขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิตสารประกอบฟินอลิกในกลุ่มลิกแนนที่มีชื่อว่า (graminone B) และเซสควิทเตอร์ปินอยด์ที่ชื่อว่าไซลินดรีน (cylindrene)  ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด (vasodilative activity) โดยพบว่าสามารถยับยั้งการหดรั้งของหลอดเลือดแดงในกระต่าย  ซึ่งคุณสมบัตินี้มีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต ดั่งเช่นที่พบว่าสารสกัดจากหญ้าคาสามารถลดความดันโลหิตในหนูทดลองได้
  4. ปกป้องเซลล์สมองสารโครโมนที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการป้องกันเซลล์สมองถูกทำลายจากสารเคมีที่เป็นพิษ
  5.  เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันโพลีแซคคาไรด์ที่พบในรากหญ้าคามีคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  6.  ต้านจุลชีพ  มีการศึกษาสารสกัดจากใบและรากของหญ้าคาพบว่าสารที่สกัดได้ทั้งจากใบ และรากของหญ้าคามีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคได้ ซึ่งได้แก่ แบคทีเรีย B. subtilisP aeruginosaE. coliS. aureusและ ยีสต์ C. albicans(11)
ประโยชน์ด้านสมุนไพรของหญ้าคาจากความรู้ทางการแพทย์แผนโบราณ
  • สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนไทยคือ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้อักเสบในทางเดินปัสสาวะ บำรุงไต แก้น้ำดีซ่าน แก้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  โดยใช้ 1 กำมือ (สด 40-50 กรัม หรือ แห้ง10-15 กรัม) หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ำรับประทานวันละ 3 ครั้ง  ก่อนอาหารครั้งละ 1ถ้วยชา(75 มล.)
  • สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีนคือ รสอมหวานเย็น มีฤทธิ์ห้ามเลือด ทำให้เลือดเย็น ใช้รักษาอาการเลือดออกจากภาวะเลือดร้อน เช่น เลือดกำเดา   ไอ อาเจียน ปัสสาวะเป็นเลือด และมีฤทธิ์ระบายความร้อน และขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะร้อนมีสีเข้ม  ใช้ 9-30 กรัม             ต้มเอาน้ำดื่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น